Co-Payment คืออะไร? ทำไมประกันสุขภาพ 2568 ต้องมีเงื่อนไขจ่ายร่วม | SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต
 
Detail
Discount
Help

 >  บทความ  >  Copayment คืออะไร? เข้าใจเงื่อนไขร่วมจ่าย ก่อนทำประกันสุขภาพปี 2568

Copayment คืออะไร? เข้าใจเงื่อนไขร่วมจ่าย ก่อนทำประกันสุขภาพปี 2568

24 ก.พ. 2568

เข้าใจเงื่อนไข Copayment ในประกันสุขภาพ และผลกระทบที่ควรรู้ !

 

Co-payment หรือ Copay คืออะไร ?

Copayment หรือ "การร่วมจ่าย" คือการที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลส่วนหนึ่งร่วมกับบริษัทประกันภัย โดยปกติจะกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด เช่น 30% หรือ 50% ของค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง

 

การเปลี่ยนแปลงประกันสุขภาพ 2568: กฎใหม่ Copayment ที่ต้องรู้!

ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดให้ กรมธรรม์ประกันสุขภาพฉบับใหม่ ต้องมี เงื่อนไข Copayment (การมีส่วนร่วมจ่าย) สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีการเคลมค่ารักษาพยาบาลเกินเกณฑ์ที่กำหนด โดยเงื่อนไขนี้ ไม่มีผลย้อนหลัง กับกรมธรรม์ที่ได้รับอนุมัติก่อนหน้า ดังนั้นหากคุณกำลังวางแผนทำประกันสุขภาพ ต้องอย่าลืมศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขใหม่ให้ดี ๆ ก่อนเลือกแผนประกันที่เหมาะสม เพื่อช่วยบริหารค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและไม่เกิดความยุ่งยากในภายหลัง

 

หลักเกณฑ์ในการเข้าเงื่อนไข Copayment

 
 

ใครบ้างที่จะเข้าเงื่อนไข Copayment ?

  • กรณีที่ 1 การเคลมสำหรับโรคที่ไม่รุนแรง (Simple Disease) มากกว่า 3 ครั้งต่อปี และอัตราการเคลมมากกว่า 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพ ผู้เอาประกันต้องร่วมจ่าย 30% ของค่ารักษาในปีถัดไป
  • กรณีที่ 2 การเคลมสำหรับโรคทั่วไป (ไม่รวมโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่) มากกว่า 3 ครั้งต่อปี และอัตราการเคลมมากกว่า 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ ผู้เอาประกันต้องร่วมจ่าย 30% ของค่ารักษาในปีถัดไป
  • กรณีที่ 3 หากเข้าเงื่อนไข ทั้งกรณีที่ 1 และ 2 ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมจ่าย Copayment 50% ของค่ารักษาในปีถัดไป

เงื่อนไขเหล่านี้จะมีผลกับกรมธรรม์ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป และไม่มีผลย้อนหลังกับกรมธรรม์ที่ได้รับอนุมัติก่อนหน้านี้

 

ถ้าเข้าเงื่อนไข Copayment แล้วจะมีผลทุกปีหรือไม่ ?

 
 

9 โรคเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases) ที่ต้องรู้สำหรับผู้ทำประกันสุขภาพ

Simple Diseases คือ อาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง และสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มักจะสามารถดูแลได้ด้วยการรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) หรือการรับยาเบื้องต้นที่บ้าน โดย Simple Diseases มักมีลักษณะดังนี้

 
  • อาการไม่รุนแรง: ไม่กระทบการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว
  • รักษาง่าย: ใช้ยาสามัญหรือวิธีธรรมชาติ เช่น การพักผ่อนหรือดื่มน้ำมากๆ
  • หายเองได้: บางอาการสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องพึ่งการรักษา
  • พบได้บ่อย: เกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกเพศทุกวัย เช่น ไข้หวัดหรือปวดหัว
 

หลักเกณฑ์การพิจารณากลุ่มโรคการป่วยเล็กน้อยทั่วไป 9 โรค

  1. ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน*
  2. ไข้หวัดใหญ่*
  3. ท้องเสีย*
  4. ไข้ไม่ระบุสาเหตุ*
  5. ภูมิแพ้*
  6. โรคกระเพาะอาหารอักเสบและกรดไหลย้อน*
  7. เวียนศีรษะ
  8. ปวดหัว
  9. กล้ามเนื้ออักเสบ

* หมายเหตุ: สำหรับผู้เอาประกันภัยที่อายุ 3-5 ปี จะครอบคลุมแค่ 6 โรคแรก ขณะที่ผู้เอาประกันภัยที่อายุ 6 ปีขึ้นไป จะครอบคลุมทั้ง 9 โรค

 

50 รายชื่อโรคร้ายแรงและผ่าตัดใหญ่ ที่เมื่อเกิดการเคลมจะไม่ถูกนับเข้าเงื่อนไข Copayment

 

สรุปบทความ

Copayment หรือ "ค่าใช้จ่ายร่วม" เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ผู้เอาประกันต้องเข้าใจ ก่อนเลือกซื้อประกันสุขภาพปี 2568 โดยเฉพาะหลังการเปลี่ยนแปลงกฎใหม่ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกัน ทั้งนี้ การมี Copayment ไม่ได้หมายความว่าประกันสุขภาพจะไม่คุ้มค่า แต่เป็นกลไกที่ช่วยควบคุมอัตราการเคลมและทำให้เบี้ยประกันอยู่ในระดับที่เหมาะสม

ก่อนตัดสินใจเลือกแผนประกันสุขภาพที่มีเงื่อนไข Copayment ควรพิจารณาความต้องการของตนเอง ศึกษารายละเอียดกรมธรรม์อย่างรอบคอบ และเปรียบเทียบความคุ้มครองให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณ หากไม่แน่ใจ สามารถ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์และคุ้มค่าที่สุดในระยะยาว

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Copayment

เพื่อให้ผู้เอาประกันสามารถเข้าใจและเตรียมตัวได้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับเงื่อนไข Copayment ในประกันสุขภาพ นี่คือคำถามที่มักพบบ่อยพร้อมคำตอบที่ชัดเจน

เงื่อนไข Copayment มีผลทั้ง IPD และ OPD ใช่หรือไม่ ?
จะทราบได้อย่างไรว่า เราเข้าเงื่อนไข Copayment ?
ในกรณีที่การเคลมมีการปรับตัวลดลง และไม่เข้าเงื่อนไขจ่ายร่วม Copayment บริษัทประกันภัยจะพิจารณาในการยกเลิก Copayment หรือไม่ และมีหลักเกณฑ์ รอบการพิจารณาอย่างไร ?
ถ้าผู้เอาประกันภัยที่เข้าเงื่อนไข Copayment แล้วจะเข้าเงื่อนไขตลอดไป หรือแค่ปีเดียว ?
ถ้าเข้าเงื่อนไข Copayment แล้วเบี้ยประกันภัยจะลดลงหรือไม่ ?
ถ้าเข้าเงื่อนไข Copayment แล้ว ทุกการจ่ายค่ารักษาพยาบาลจะต้องมีส่วนร่วมจ่ายหรือไม่ ? รวมโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่ด้วยหรือไม่ ?
Copayment กับ Deductible ต่างกันอย่างไร ?
ถ้ากรมธรรม์มี Deductible และเข้าเงื่อนไข Copayment จะต้องมีส่วนจ่ายอย่างไร ?
Copayment ส่งผลกระทบต่อประกันสุขภาพกลุ่ม (Group Insurance) หรือไม่?
Copayment มีผลต่อโรงพยาบาลที่สามารถเข้ารับการรักษาได้หรือไม่?
หากเปลี่ยนบริษัทประกันภัย จะยังต้องจ่าย Copayment อยู่หรือไม่?
หากต้องจ่าย Copayment แล้ว สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?