ระวังให้ดีคิดเยอะไม่ปล่อยวาง อาจสะสมจนเครียดลงกระเพาะ
 
Detail
Discount
Help

 >  บทความ  >  รู้ทันภาวะเครียดลงกระเพาะสำหรับคนวัยทำงาน

รู้ทันภาวะเครียดลงกระเพาะสำหรับคนวัยทำงาน

4 ต.ค. 2566

แชร์:

Facebook Icon Twitter Icon Line Icon

ภาวะเครียด สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย แต่ที่พบบ่อย คือคนวัยทำงานที่ต้องพบเจอกับภาระงานที่หนักอึ้งจนให้เกิดความเครียดตามมา ในบางคนอาจรู้ทันและรับมือกับภาวะเครียดได้ แต่ในบางคนที่ไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ จนเกิดเป็นความเครียดสะสม ทำให้มีอาการปวดท้องและคลื่นไส้ จนเกิดโรคที่เรียกกันว่า โรคเครียดลงกระเพาะได้

 

ใครที่มีอาการคลื่นไส้  รู้สึกแสบร้อนหรือปวดท้องอยู่บ่อย ๆ แล้วสงสัยว่าจะใช่อาการของโรคเครียดลงกระเพาะ หรือไม่ ? บทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักโรคเครียดลงกระเพาะกันให้มากขึ้น ภาวะเครียดลงกระเพาะ เกิดจากอะไร ? อาการแบบไหนคือเครียดลงกระเพาะ  ? อันตรายไหม ? มีแนวทางการป้องกัน อย่างไร ? ไปสำรวจอาการตัวเองพร้อมกันได้เลย

 

ภาวะเครียดลงกระเพาะเกิดจากอะไร ?

  • ภาวะเครียดลงกระเพาะเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ ไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนออกมามากกว่าปกติ
  • ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนเร่งปฏิกิริยาการเผาผลาญอาหารออกมามาก ทำให้นอนไม่หลับและรู้สึกหิวบ่อย
  • ฮอร์โมนบางตัวทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง มีความเสี่ยงเกิดภาวะเครียดลงกระเพาะได้ง่ายขึ้น
  • ความเครียดสะสมไปกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ
 

อาการแบบไหนคือเครียดลงกระเพาะ ?

 
  • อาการเครียดลงกระเพาะที่พบบ่อย คือจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อยขึ้น โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร อาจมีอาการแสบทรวงอกร่วมด้วยในบางกรณี
  • ตอนท้องว่าง รู้สึกแสบร้อนหรือปวดท้องบริเวณลิ้นปี่
  • รู้สึกอาหารไม่ย่อย ทำให้มีอาการท้องผูกร่วมด้วย 
  • ภายในช่องท้องและในกระเพาะอาหารมีลมมากเกินไป ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ร่างกายจึงขับออกด้วยการเรอ หรือผายลมออก 
  • การขับถ่ายผิดปกติ  ในกรณีที่อุจจาระเปลี่ยนสีเป็นสีดำจะต้องไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะมีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้
  • นอนไม่หลับ รู้สึกตัวตลอดคืน
  • ปวดเมื่อยตามตัว
 

เครียดลงกระเพาะอันตรายไหม ?

ภาวะเครียดลงกระเพาะ ในระยะสั้นจะทำให้รู้สึกอาหารไม่ย่อย เป็นกรดไหลย้อน แสบร้อนที่อก เรอมีกลิ่นเปรี้ยวหรือเหม็น อาการดังกล่าวอาจทำให้เสียภาพลักษณ์ หรือเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ในบางรายอาจคลื่นไส้อาเจียน หรือขับถ่ายเป็นสีดำ

ส่วนผลกระทบในระยะยาวของภาวะเครียดลงกระเพาะ อาจทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง ทำให้เสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการหลั่งของฮอร์โมนทำงานผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้สมองสั่งการช้าลง ทำให้การทำงานหรือการตัดสินใจต้องใช้เวลามากขึ้น หรือในกรณีร้ายแรงอาจทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

 

แนวทางการป้องกันภาวะเครียดลงกระเพาะ

 
  • รับประทานให้ตรงเวลา และครบทั้งหมด 3 มื้อ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ย่อยง่าย 
  • เลี่ยงอาหารขยะ  ของทอด อาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูง รวมถึงเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ งดสูบบุหรี่
  • รับประทานผัก ผลไม้ นมรสเปรี้ยว และโยเกิร์ต ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในร่างกาย
  • เมื่อเริ่มรู้ตัวว่ามีความเครียด ควรปรึกษาปัญหาจากบุคคลรอบข้าง หรือผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยา เพื่อวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน
  • ฝึกการหายใจและทำสมาธิ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้ฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่งออกมา ทำให้คุณรู้สึกสดชื่น มีความสุข กระปรี้กระเปร่า และทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานดีขึ้น
 

สรุปบทความ

ความเครียดเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย หากปล่อยไว้นานก็จะส่งอันตรายได้ ดังนั้นวิธีป้องกันโรคเครียดลงกระเพาะที่ดีที่สุด คือ การเอาตัวเองออกมาจากความเครียดให้เร็วที่สุด ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันโดยที่ไม่กดดันตัวเองมากเกินไป

 

ถ้าจะให้ดีควรมีการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี พร้อมกับสังเกตสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของร่างกายอยู่เสมอว่ามีอาการผิดปกติอะไรบ้าง และอย่าลืมเสริมความมั่นใจด้วยการทำ ประกันสุขภาพวัยทำงาน กับ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต เพราะนอกจากจะช่วยคุ้มครองชีวิตแล้ว ยังช่วยเซฟค่าใช้จ่ายเวลาต้องเข้ารักษาพยาบาลอีกด้วย หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เลย

ประกันที่เกี่ยวข้อง