โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง? แบบไหนที่ประกันโรคร้ายแรงให้ความคุ้มครอง | SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต
 
Detail
Discount
Help

 >  บทความ  >  ไขข้อสงสัย โรคร้ายแรงในประกันสุขภาพมีอะไรบ้าง

ไขข้อสงสัย โรคร้ายแรงในประกันสุขภาพมีอะไรบ้าง

17 พ.ค. 2567

โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง เป็นเรื่องที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ วันนี้พามารู้จักโรคร้ายแรง โรคที่บริษัทประกันต้องมีแผนประกันค่ารักษาพยาบาลคุ้มครอง โรคเหล่านั้นมีอะไรบ้าง อาการเป็นอย่างไร ค่าใช้จ่ายในการรักษาแพงไหม แล้วซื้อประกันโรคร้ายแรงที่ไหนดี เอามาบอกแล้วในบทความนี้!

 

โรคร้ายแรงคืออะไร ในประกันสุขภาพ

ในกรมธรรม์ประกันสุขภาพจำกัดความคำว่าโรคร้ายแรงว่าเป็นโรคที่ต้องใช้เทคนิคในการรักษา เป็นโรคที่หายยากกว่าโรคทั่วไป ต้องใช้เวลาในการรักษาเป็นเวลานาน ต้องอาศัยความต่อเนื่องในการรักษา และฟื้นฟู เป็นโรคที่ไม่เพียงทำร้ายร่างกาย แต่ยังมีค่ารักษาที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย

 

โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง

สำหรับโรคร้ายแรงที่บริษัทประกันมีแผนความคุ้มครอง คือ

 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โรคร้ายแรงแรกที่นึกถึงคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือโรคหัวใจวาย เป็นโรคที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดมีปัญหาไม่สามารถส่งไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ทำให้อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานผิดปกติ อาการคือเริ่มมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจไม่ทั่วท้อง แน่นหน้าอก เป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต

 

โรคมะเร็ง

โรคร้ายแรงโรคนี้เป็นโรคอันดับ 1 ที่หลายคนนึกถึง โรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่เลือกอายุ เกิดได้ทั้งจากพันธุกรรม และปัจจัยภายนอกอื่นๆ ทั้งยังเกิดได้กับหลายส่วนของร่างกาย มีการเติบโตแบ่งเป็นระยะแรก, ระยะที่ 2, ระยะที่ 3 และระยะสุดท้าย โดยที่แค่ระยะแรกก็มีค่ารักษาที่ค่อนข้างสูง และต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ลุกลามจนอยู่ในระยะที่ปลอดภัย

 

 

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคร้ายแรงที่แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ หลอดเลือดสมองแตก และหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากเลือดไม่สามารถขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมองได้ ทำให้สมองขาดเลือด และออกซิเจน ถ้ารักษาไม่ทันจะทำให้สมองตายในที่สุด คนไข้ที่ต้องเผชิญกับโรคนี้จะมีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า ไม่สามารถหลับตาให้สนิทได้ แขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะรุนแรง เป็นโรคที่อาจมีการเกิดซ้ำ ต้องทำการรักษาให้ทันท่วงที และต่อเนื่อง เป็นโรคร้ายแรงที่ค่อนข้างต้องใช้เงินในการรักษาสูงอีกโรคหนึ่ง

 

โรคปอดระยะสุดท้าย

โรคปอดระยะสุดท้ายคือโรคร้ายแรงที่เกิดจากหลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบ เพราะได้รับสารระคายเคืองเป็นเวลานาน ทำให้หลอดลมค่อยๆ ตีบ จนไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อีก มักเกิดจากการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน มลพิษในอากาศ สูดดมสารเคมีเป็นเวลานานๆ หรือโรคทางพันธุกรรม อาการระยะสุดท้ายจะมีอาการเหนื่อยหอบ แน่นท้อง เลือดจาง ร่างกายซูบซีด ขาดสารอาหาร และบางรายอาจจะมีโรคตับแข็งร่วมด้วย เป็นโรคร้ายแรงที่ต้องอาศัยการทำเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่อง

 

โรคตับเรื้อรัง

โรคตับเรื้อรัง หรือโรคตับอักเสบแบ่งเป็น

  • ไวรัสตับอักเสบ A ที่สามารถติดต่อได้ทางอาหาร หรือน้ำที่ปนเชื้อโรค
  • ไวรัสตับอักเสบ B ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือจากแม่สู่ลูก
  • ไวรัสตับอักเสบ C ติดต่อทางเลือด และเพศสัมพันธ์
  • ไวรัสตับอักเสบ D ติดต่อทางเลือด
  • ไวรัสตับอักเสบ E ติดต่อได้ทางอาหารที่ปรุงไม่สุก

โรคนี้แพทย์ต้องวินิจฉัยให้ได้ก่อนว่าเป็นประเภทไหนแล้วทำการรักษา อาการส่วนใหญ่ของผู้ป่วยคืออ่อนเพลีย รับประทานได้น้อย ต้องให้น้ำเกลือเพื่อเสริมกำลังในการใช้ชีวิต นอกจากเป็นโรคร้ายแรงแล้ว ยังเป็นโรคติดต่อโรคหนึ่งที่ต้องระวังอีกด้วย

 

ควรทำประกันโรคร้ายแรง ที่ไหนดี

Super Life Fight โรคร้าย เป็นประกันชีวิตที่คุ้มครองโรคร้ายแรงที่พบมากในคนไทย กว่า 28 โรค คุ้มครองชีวิต 500,000 บาท จนถึงอายุ 99 ปี ครบกำหนดสัญญาได้รับเงินคืน เพิ่มถึง 1,500,000 บาท กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรจาก 1 ใน 28 โรคร้ายแรง เป็นสัญญาที่สามารถซ์้อเพิ่มเติมได้จากประกันสุขภาพหลัก

 

 

สรุปบทความ

และนี่คือโรคร้ายแรงที่คนไทยเจ็บป่วย และเสียชีวิตมากที่สุด แต่ละโรคเป็นโรคที่เสี่ยงต่อชีวิต การทำกรมธรรม์คุ้มครองโรคร้ายแรงเพิ่มเติมกับประกันการรักษาพยาบาล เป็นอีกทางที่จะช่วยให้การรักษาอย่างต่อเนื่องไม่มีปัญหา และยังมีทุนประกันชีวิตรองรับในกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรจากโรคร้ายแรงเหล่านี้อีกด้วย

 

SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มีประกันหลากหลายรูปแบบให้คุณได้เลือกตามเป้าหมายทางการเงินของแต่ละคน ทั้ง ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และ ประกันออมทรัพย์ สามารถขอคำ ปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ ตัวแทน หรือสนใจ ซื้อประกันออนไลน์ สามารถติดตามข่าวสาร SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต ได้ที่ Facebook SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต, LINE Official @THAIGROUP และ Call Center โทร 0 2255 5656
 

ประกันที่เกี่ยวข้อง