รู้ทันอาการออฟฟิศซินโดรม ภาวะยอดฮิตที่คนทำงานเลี่ยงไม่ได้
 
Detail
Discount
Help

 >  บทความ  >  รู้จักอาการออฟฟิศซินโดรม ภาวะยอดฮิตของคนทำงาน

รู้จักอาการออฟฟิศซินโดรม ภาวะยอดฮิตของคนทำงาน

18 ต.ค. 2566

แชร์:

Facebook Icon Twitter Icon Line Icon

มาทำความรู้จักภัยใกล้ตัวของคนทำงานอย่าง “ออฟฟิศซินโดรม” อาการของโรคที่แสนจะทรมานนี้คืออะไร ทำไมต้องเป็นกับคนทำงาน พฤติกรรมไหนที่ทำให้โรคนี้เข้ามาย่างกราย การรักษาให้อาการดีขึ้นต้องทำอย่างไรบ้าง ป้องกันด้วยวิธีไหนจะดีที่สุด มาหาคำตอบพร้อมกันได้ในบทความนี้

 

อาการออฟฟิศซินโดรมคืออะไร ?

 

อาการเริ่มต้นของโรคนี้คือการปวดเมื่อยล้าตามร่างกาย ยิ่งบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ลามไปจนถึงบริเวณหลัง เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด คนนั่งโต๊ะทำงานตลอดเวลาต้องได้สัมผัสสักครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานที่ออฟฟิศที่บ้านก็เกิดอาการ Work from home Syndrome ได้เช่นกัน การใช้กล้ามเนื้อนาน ๆ หรืออยู่ในท่าเดิมแบบเดิมซ้ำนาน ๆ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคนี้ 

 

อาการออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้าง ?

อาการออฟฟิศซินโดรมแสดงออกมาได้หลายอาการ โดยแต่ละอาการอาจจะปรากฏขึ้นมาพร้อมกัน หรือสลับสับเปลี่ยนกันไป อาการเหล่านั้น คือ

 
  • ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน  ที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ ไม่ว่าจะเป็นคอ บ่า ไหล่ หรือสะบัก
  • วิงเวียนปวดศีรษะบ่อย ๆ บางคนอาจจะเป็นไมเกรนร่วมด้วย อาจเป็นเพราะทำงานด้วยความตึงเครียด หรือการใช้สายตาจ้องหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ 
  • ปวดหลัง เป็นอาการที่จะปรากฏหลังจากการนั่งทำงานหลาย ๆ ชั่วโมง  นั่งทำงานไม่ถูกท่า มักเกิดขึ้นได้บ่อยกับคนที่หลังค่อม ทำให้กล้ามเนื้อคอล้าและตึง หรือคนที่ใส่ส้นสูงยืนนาน ๆ ก็ทำให้เกิดอาการปวดหลังแบบนี้ได้
  • มีอาการปวดหรือเป็นเหน็บชาลงมาที่ขา เพราะเลือดไม่เดิน การไหลเวียนเลือดไม่คล่อง เกิดมาจากการนั่งท่าเดิม ๆ
  • ตาล้า รู้สึกตาพร่า เพราะใช้สายตาเป็นเวลานาน ๆ
  • มือชา นิ้วล็อก  ปวดข้อมือ อาการเหล่านี้เกิดจากการจับเมาส์ คลิกเมาส์ พิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมือ หรือนิ้วมืออักเสบได้ บางคนอาจจะเกิดอาการนิ้วล็อกที่ทำให้ไม่สามารถขยับนิ้วได้ 
 

แนวทางการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

 

การป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมรักษาได้ดีที่สุดคือ การจัดท่านั่งให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง การปรับเก้าอี้ หรือโต๊ะทำงานให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะพอดี พยายามไม่นั่งทำงานท่าเดิมนาน ๆ เว้นระยะในการพักสายตาบ้าง เมื่อมีอาการปวดเมื่อยให้ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย ก่อนที่จะนั่งทำงานต่อ การรักษานั้นสามารถใช้ยารักษา เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ แต่การใช้ยาก็ไม่ใช้การรักษาที่ดีที่สุด ตามโรงพยาบาลมีการรักษาด้วยการทำกายภาพ หรือใครที่สะดวกไปร้านนวดก็สามารถไปได้ แต่แนะนำให้ไปร้านที่มีหมอแก้อาการเฉพาะจุดจะดีกว่า 

 

นอกจากการนวดแล้วยังมีวิธีการโบราณเช่น การฝังเข็มรักษา หรือการใช้นวัตกรรมทางการแพทย์ที่เรียกว่า “Shock Wave” ที่จะไปช่วยให้กล้ามเนื้อคลาย รักษาเกี่ยวกับการไหลเวียนเลือด ลดการปวดหรืออักเสบได้ดี แต่ถ้าเกิดอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูให้ละเอียดอีกครั้ง จะได้ทำการรักษาได้อย่างตรงจุด หลายบริษัทมี ประกันสุขภาพกลุ่มพนักงาน เพื่อรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมโดยเฉพาะ เพื่อให้พนักงานได้ใช้ในการรักษาตัวด้วย

 

แนวทางการป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม

วิธีการป้องกันออฟฟิศซินโดรมนั้น ดีที่สุดคือการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ถูกวิธี จัดท่านั่งให้ถูก นั่งหลังตรง เปลี่ยนวิธีการนั่งทำงานให้เหมาะสม เปลี่ยนท่านั่งทุก 1 ชั่วโมง เปลี่ยนท่านั่งทำงานสม่ำเสมอ ศึกษาท่าออกกำลังกายง่าย ๆ เพื่อใช้คลายเส้นและช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ถ้ามีอาการเรื้อรังจนรู้สึกว่า รับประทานยาไม่หาย การบริหารไม่ช่วย ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อหาทางรักษาให้ดีขึ้น ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรังจนทำอันตรายต่อร่างกายมากขึ้นกว่าเดิม

 

สรุปบทความ

ออฟฟิศซินโดรมอาการยอดฮิตของคนทำงาน โรคภัยใกล้ตัวที่สร้างความรำคาญให้ร่างกายมาก ๆ โรคหนึ่ง สาเหตุเกิดจากการนั่งทำงานด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม การใช้สายตาติดกันเป็นเวลานาน การนั่งทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้อง หากไม่อยากเจออาการออฟฟิศซินโดรมควรต้องปรับพฤติกรรมการนั่งทำงานให้ถูกวิธี ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายยืดหยุ่น และส่งเสริมระบบไหลเวียนเลือดให้สมดุลตลอดเวลาด้วย