ซื้อประกันลดหย่อนภาษีอย่างไรลดหย่อนภาษีคุ้มสุด | SE Life อาคเนย์
 
Detail
Discount
Help

 >  บทความ  >  เทคนิคซื้อประกันลดหย่อนภาษีอย่างไรให้คุ้ม ลดหย่อนได้เยอะ

เทคนิคซื้อประกันลดหย่อนภาษีอย่างไรให้คุ้ม ลดหย่อนได้เยอะ

15 ก.ย. 2565

สำหรับผู้มีรายได้ที่กำลังวางแผนทำประกันชีวิต หรือ ประกันสุขภาพมนุษย์เงินเดือน จะได้นำไปลดหย่อนภาษีนั้น อาจกำลังสงสัยว่าการทำประกันจะช่วยลดหย่อนภาษีได้อย่างไร ต้องจ่ายเบี้ยประกันเท่าไหร่ถึงจะนำไปลดหย่อนภาษีได้ อีกทั้งการซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี ยังมีประกันหลากหลายประเภทให้เลือกอีก SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต จะมาแนะนำวิธีเลือกซื้อประกันลดหย่อนภาษีอย่างไรให้คุ้ม ให้สามารถลดหย่อนภาษีได้เยอะ แต่ก็ยังได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมกับความต้องการ

วิธีเลือกซื้อประกันลดหย่อนภาษี ให้ลดหย่อนได้เยอะ

สำหรับผู้มีรายได้ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ทุกปี หลายคนจึงวางแผนมองหาสิทธิลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ซึ่งการซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษีเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมและคุ้มค่ามากที่สุด โดยประกันลดหย่อนภาษีได้ในปัจจุบันมี 4 ประเภทด้วยกันดังนี้

1. ประกันชีวิตทั่วไป

เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ก็สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงเช่นกัน แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท  โดยประกันชีวิตแบบทั่วไปนั้นก็แบ่งออกเป็น 3  ประเภท ได้แก่

  • ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
    ประกันชีวิตที่เน้นคุ้มครองชีวิตจากการเสี่ยงภัยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น แผนประกันชีวิตแบบคุ้มครอง 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นต้น (การซื้อประกันชีวิตลดหย่อนภาษีประเภทนี้ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ หากมีอายุกรมธรรม์ 10 ปี ขึ้นไป)

  • ประกันชีวิตตลอดชีพ
    ประกันที่คุ้มครองชีวิตยาวนานจนถึง 90 หรือ 99 ปี โดยอาจจะมีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันประมาณ 10 - 15 หรือ 20 ปี เพื่อเป็นมรดกให้กับคนข้างหลังในวันที่ผู้ทำประกันเสียชีวิต

  • ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
    เป็นประกันที่คุ้มครองทั้งชีวิต และเป็นการออมเงินไปด้วยในขณะเดียวกัน ซึ่งผู้ทำประกันจะได้รับเงินตามจำนวนที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์เมื่อเสียชีวิต หรือเมื่อสัญญาครบกำหนด ซึ่งจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปี ไปจนถึง 30 ปี หรือครบอายุผู้เอาประกัน 60 ปีเลยก็ได้ ทั้งนี้ ถ้าหากได้รับเงินหรือผลประโยชน์จากประกันในระหว่างอายุกรมธรรม์ จะต้องได้ไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี จึงจะนำค่าเบี้ยประกันลดหย่อนภาษีได้

  •  

2. ประกันสุขภาพของตนเอง

คุณสามารถซื้อประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ทั้งที่ซื้อเป็นแผนแยกประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ก็สามารถนำเบี้ยไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 25,000 บาท โดยเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

 


3. ประกันชีวิตแบบบำเหน็จบำนาญ

เบี้ยประกันชีวิตแบบบำเหน็จบำนาญ เป็นประกันชีวิตที่ทำเพื่อเป็นรายได้ในยามเกษียณ โดยบริษัทประกันจะจ่ายให้ผู้เอาประกันเป็นเงินก้อนเหมือนเงินบำเหน็จ และจะจ่ายเป็นงวด ๆ เหมือนเงินบำนาญนับตั้งแต่ปีที่สัญญาครบกำหนด 

ซึ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบนี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง โดยไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี สำหรับคนที่ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ และยังใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปไม่ครบ 100,000 บาท คุณสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญบางส่วนไปหักลดหย่อนในฐานะเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปก่อน แล้วค่อยนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญส่วนที่เหลือไปหักลดหย่อนจนครบตามเงื่อนไขได้

4. ประกันสุขภาพสำหรับพ่อแม่

นอกจากการซื้อประกันสุขภาพของตนเองจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว การซื้อประกันสุขภาพสำหรับบิดามารดา สามารถนำเบี้ยไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงอีกด้วย โดยรวมสูงสุดปีละไม่เกิน 15,000 บาท และส่วนของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ของคู่สมรสก็ยังสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษี รวมสูงสุดไม่เกินปีละ 15,000 บาทเช่นกัน 

ในปัจจุบันสำหรับคนที่มีความประสงค์จะใช้สิทธิประกันลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพ จะต้องแจ้งความประสงค์ต่อบริษัทประกัน เพื่อให้บริษัทฯนำส่งข้อมูลการชำระเบี้ยประกันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กับกรมสรรพากรตามข้อกำหนด

3 เทคนิคคำนวณภาษี ก่อนซื้อประกันลดหย่อนภาษีให้คุ้มค่า

ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยให้เราสามารถคำนวณรายได้ และภาษีที่ต้องจ่ายได้อย่างง่ายดาย รวมไปถึงตัวเลือกในการช่วยลดหย่อนภาษีมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่อยากแนะนำให้ทำก่อนคือ ศึกษา วิธีคำนวณภาษีด้วยตัวเอง เพราะยังมีอีกหลายคนที่เข้าใจผิดคิดว่า ถ้าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ก็แค่ทำประกันเท่ากับจำนวนนั้น ซึ่งในความเป็นจริงค่าเบี้ยประกันที่ชำระจะไปหักลบออกจากรายได้ทั้งปีของเราไม่ใช่หักออกจากภาษีที่ต้องจ่าย

ยกตัวอย่าง นายสมชาย มีเงินเดือน 56,000 บาท (ปีละ 672,000 บาท) ได้รับโบนัสประจำปีอีก 84,000 บาทหักค่าใช้จ่ายแบบเหมารวม 100,000 บาท จ่ายประกันสังคม 9,000 บาท นายสมชายไม่มีภรรยา และสนใจอยากทำประกันออมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษีอีก 100,000 บาท

 

รายได้ทั้งปี

 

 

 

ลดหย่อนภาษี

 

 

672,000

+

84,000

-

100,000

-

60,000

-

9,000

-

100,000

=

487,000

เงินเดือน
(ต่อปี)

 

โบนัสประจำปี

 

ค่าใช้จ่าย

 

ผู้มีเงินได้

 

ประกันสังคม

 

ค่าเบี้ยประกัน

 

เงินได้สุทธิ

 

จะเห็นว่าจำนวนเบี้ยประกันที่นำมาลดหย่อนภาษีนั้นไปลดในส่วนของรายได้ทั้งปีเพื่อหารายได้สุทธิ ก่อนนำไปลดหย่อนภาษีตามขั้นบันไดต่อไป เราถึงจะทราบว่าภาษีที่เราต้องจ่ายในปีนั้นคือเท่าไหร่ เพราะถ้ายิ่งมีรายได้ที่สูงเท่าไหร่การทำประกันก็จะยิ่งช่วยให้ภาษีที่ต้องจ่ายลดลงเท่านั้น

1. ลดภาษีเป็นขั้น ก่อนเลือกเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย

เนื่องจากการคำนวณภาษีในปัจจุบันถูกคิดแบบภาษีขั้นบันไดทีละ 5% แต่สูงสุดไม่เกิน 35% ยิ่งมีรายได้มากขึ้นก็จะยิ่งต้องเสียภาษีมากเท่านั้น ทำให้เวลาจะซื้อประกันลดหย่อนภาษี จะต้องคำนึงถึงขั้นภาษีว่าต้องเสียถึงขั้นไหน แล้วถึงมาดูว่าเบี้ยประกันที่จะจ่าย สามารถลดจำนวนขั้นภาษีลงได้หรือไม่

เช่น ถ้าเราเสียภาษีขั้นที่ 4 เราก็ต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น เพื่อลดรายได้ของเราลงให้รายได้สุทธิไม่เกินขั้นที่ 3 เป็นต้น การทำวิธีนี้จะช่วยให้สามารถตัดภาษีในส่วนที่ต้องเสียอัตราภาษีสูง ๆ ออกไปก่อน (ส่วน 15%) และเหลือไว้แค่ในส่วนที่ภาษีสะสมในขั้นที่ต่ำกว่า (27,500 บาท) ทำให้เราก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเบี้ยประกันแพง ๆ โดยไม่จำเป็นอีกต่อไป
 

ขั้นที่

ช่วงรายได้สุทธิตั้งแต่ 

(ต่อปี)

รายได้สุทธิสูงสุดในแต่ละขั้น

อัตรา

เสียภาษี

ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้น

ภาษีสะสมสูงสุดในแต่ละขั้น

1

0 - 150,000

150,000

5%

ยกเว้น*

0

2

150,001 - 300,000

150,000

5%

7,500

7,500

3

300,001 - 500,000

200,000

10%

20,000

27,500

4

500,001 - 750,000

250,000

15%

37,500

65,000

5

750,001 - 1,000,000

250,000

20%

50,000

115,000

6

1,000,001 - 2,000,000

1,000,000

25%

250,000

365,000

7

2,000,001 - 5,000,000

3,000,000

30%

900,000

1,265,000

8

5,000,001 บาท ขึ้นไป

-

35%

-

-

 

2. ดูเงื่อนไขแบบประกันที่จะหักลดหย่อนภาษี

นอกจากนี้ควรรู้ว่าแบบประกันที่กำลังจะทำสามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ แล้วลดหย่อนภาษีได้สูงสุดเท่าไหร่ อย่างเบี้ยประกันชีวิตสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี และเบี้ยประกันสุขภาพสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี แต่เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีตลอดทั้งปี และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี และหากมีการยกเลิก หรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนเกณฑ์เวลาที่สรรพากรได้กำหนดไว้ อาจจะต้องคืนเงินภาษีที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปในปีนั้น พร้อมจ่ายเบี้ยปรับให้สรรพากร 1.5% ต่อเดือนอีกด้วย

3. เปรียบเทียบระยะเวลาในการชำระเบี้ยประกัน

แน่นอนว่าการซื้อประกันลดหย่อนภาษีไม่ได้ทำแค่ปีเดียว ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการเลือกแบบประกันที่เหมาะสม ยิ่งแบบประกันที่มีระยะเวลาชำระเบี้ยยาวนาน ก็ยิ่งต้องแบกภาระในการจ่ายเบี้ยที่มากขึ้นและอาจส่งผลให้เรา จ่ายเบี้ยประกันไม่ไหว ได้ในภายหลัง แต่ถ้าหากเลือกชำระเบี้ยครั้งเดียว เราก็จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้แค่ในปีนั้น และอาจต้องทำประกันตัวใหม่ในปีถัดไป ดังนั้นควรคำนวณดูว่าตัวเองมีกำลังพอที่จะจ่ายเบี้ยระยะยาว หรือระยะสั้น และรายได้ของเราในแต่ละปีว่ามีแน้วโน้มทิศทางไปยังไง เพื่อวางแผนการทำประกันให้เหมาะสม และครอบคลุมกับความต้องการของตัวเองที่สุด

 

ชำระเบี้ยประกัน 

/ ลดหย่อนภาษี

ปีที่1

ปีที่2

ปีที่3

ปีที่4

ปีที่5

ประกันออมทรัพย์ 10/1

100,000

-

-

-

-

ประกันออมทรัพย์ 10/5

20,000

20,000

20,000

20,000

20,000

 

สรุป การซื้อประกันลดหย่อนภาษี

จะเห็นว่าการซื้อประกันลดหย่อนภาษีให้คุ้มค่าจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องยากเลย แค่ดูรายได้สุทธิของตัวเองว่าอยู่ที่ขั้นไหน เพื่อจะได้เลือกแบบประกันที่ตอบโจทย์ และจ่ายค่าเบี้ยประกันที่พอดีไม่จำเป็นต้องมากจนเกินไป เพราะอาจจะกลายเป็นภาระในภายหลังได้ และที่สำคัญควรมองในระยะยาว เพื่อวางแผนเรื่องการลดหย่อนภาษี จะได้เลือกระยะเวลาการจ่ายเบี้ยประกันที่เหมาะสม เพียงเท่านี้เราก็ได้ประกันดี ๆ ที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้ในระยะยาว และไม่ต้องเปลืองเงินโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มีประกันหลากหลายรูปแบบให้คุณได้เลือกตามเป้าหมายทางการเงินของแต่ละคน ทั้ง ประกันชีวิต , ประกันสุขภาพ และ ประกันออมทรัพย์ สามารถขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ ตัวแทน หรือสนใจ ซื้อประกันออนไลน์ สามารถติดตามข่าวสาร SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต ได้ที่ Facebook SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต, LINE Official @THAIGROUP และ Call Center โทร 0 2255 5656

 
ที่มา: finnomena, krungsri, itax