พนักงานบริษัทที่เกษียณอายุ ได้เงินชดเชยอะไรบ้าง วางแผนอย่างไรดี | SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต
 
Detail
Discount
Help

 >  บทความ  >  เป็นพนักงานบริษัทควรวางแผนเกษียณอายุอย่างไรดี

เป็นพนักงานบริษัทควรวางแผนเกษียณอายุอย่างไรดี

23 ก.ย. 2567

หากจะพูดถึงการเกษียณอายุของพนักงานบริษัท หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบวางแผนการเงินเท่าไหร่ พอเผลออีกทีก็อาจเหลือช่วงเวลาในการเก็บออมไม่มากนัก และอาจไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายหลังเกษียณ จึงมักจะลงเอยด้วยการทำงานหนักเหมือนเดิมแม้จะเกษียณอายุแล้ว ใครที่ยังไม่มีแผนชีวิตหลังเกษียณอายุ เดี๋ยววันนี้ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต จะพามาทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้เอง

 

ความสำคัญของการวางแผนเกษียณอายุ

การวางแผนเกษียณอายุ คือกุญแจสำคัญสู่อนาคตที่มั่นคงสำหรับพนักงานบริษัททุกคน เพราะการเตรียมแผนเกษียณล่วงหน้าอย่างรอบคอบ จะช่วยให้มีโอกาสได้ใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีคุณภาพ มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายประจำวัน การดูแลสุขภาพ และการทำกิจกรรมที่ใฝ่ฝัน จึงควรวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อความมั่นคงได้ระยะยาวอย่างอุ่นใจ

 

พนักงานบริษัทที่เกษียณอายุ ได้เงินชดเชยอะไรบ้าง

เมื่อพนักงานบริษัทเกษียณอายุ สิทธิได้รับเงินชดเชย และผลประโยชน์นั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินในช่วงเกษียณได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี สิทธิประโยชน์เหล่านี้อาจแตกต่างกันไปตามนโยบายของแต่ละบริษัท และกฎหมายแรงงานตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น

  • เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน : พนักงานที่ทำงานครบตามเงื่อนไข มีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามอายุงาน โดยอัตราสูงสุดคือ 400 วันของค่าจ้างสุดท้าย สำหรับผู้ที่ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นการช่วยเหลือทางการเงินที่สำคัญในช่วงเริ่มต้นของการเกษียณ
  • เงินสะสมจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : หากบริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานจะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยเงินที่พนักงานสะสม เงินสมทบจากนายจ้าง และผลตอบแทนจากการลงทุน ทำให้มีเงินก้อนใหญ่สำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณอีกหนึ่งทาง
  • เงินบำเหน็จบำนาญจากประกันสังคม : ผู้ประกันตนมีสิทธิรับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญชราภาพตามเงื่อนไข โดยจะได้รับเป็นเงินก้อนหรือรายเดือน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ
  • สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล : บางองค์กรอาจมีการดูแลด้านสุขภาพให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุ เช่น ประกันสุขภาพต่อเนื่อง หรือสิทธิในการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่บริษัทกำหนด ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในวัยเกษียณได้อีกทางหนึ่ง
 

ควรวางแผนเกษียณอายุตอนไหนดี

 

ควรวางแผนเกษียณอายุตอนไหนดี

แผนเกษียณเร็วควรมีตั้งแต่เริ่มทำงาน ยิ่งเริ่มได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะช่วยให้มีเงินเพียงพอสำหรับการเกษียณไวยิ่งขึ้น หรือหากรู้สึกว่าเร็วไป และรายได้ที่มียังไม่พร้อมที่กับแผนเกษียณอายุ อาจเริ่มตอนอายุ 25-30 ปีได้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้มีเวลาในการสะสมเงิน และปรับแผนการเงินได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น

 

ผลเสียของการไม่วางแผนเกษียณอายุ

หลายคนอาจมองว่าแผนเกษียณอายุอาจไม่จำเป็น แต่ในความเป็นจริงแล้วมีผลเสียอย่างมาก หากไม่รีบเตรียมตัวตั้งแต่อายุยังน้อย หากนึกภาพไม่ออก เรามีตัวอย่างปัญหาที่อาจเกิดขึ้นมาฝากกัน เช่น

  • ขาดแคลนเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
  • ไม่มีเงินสำรองสำหรับค่ารักษาพยาบาล
  • ต้องพึ่งพาลูกหลาน หรือสวัสดิการจากรัฐ
  • เสียโอกาสในการทำกิจกรรมที่ต้องการหลังเกษียณ
  • เกิดความเครียด และวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคต
  • อาจต้องทำงานต่อไปโดยไม่ได้พักแม้สุขภาพไม่เอื้ออำนวย
 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นวางแผนเกษียณอายุ

ก่อนเริ่มวางแผนเกษียณอายุ พนักงานบริษัทควรทำความเข้าใจกับปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการวางแผน ซึ่งจะช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้

  • สถานะทางการเงินปัจจุบัน : การเข้าใจสถานะทางการเงินของตนเองอย่างชัดเจน จะช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายการออม และการลงทุนได้อย่างเหมาะสม จึงควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และประเมินทรัพย์สิน หรือหนี้สินทั้งหมดที่มี
  • ไลฟ์สไตล์ที่ต้องการหลังเกษียณ : การกำหนดรูปแบบชีวิตที่อยากใช้ จะช่วยในการวางแผนทางการเงินได้ดีขึ้น ซึ่งควรคิดถึงกิจกรรมที่อยากทำ สถานที่ที่อยากอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ต้องการหลังเกษียณอายุ เพื่อประมาณการค่าใช้จ่ายให้ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
  • อายุที่ตั้งใจจะเกษียณ : การกำหนดอายุเกษียณที่ต้องการ และประเมินถึงช่วงเวลาหลังเกษียณคร่าว ๆ จะช่วยในการคำนวณระยะเวลาที่ต้องใช้เงินหลังเกษียณให้พอดี
  • สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่จะได้รับจากการทำงาน : ควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสวัสดิการที่จะได้รับเมื่อเกษียณอายุ เช่น เงินชดเชย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพื่อให้วางแผนการเงินได้อย่างครอบคลุม
  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการลงทุน : การเข้าใจหลักการลงทุน และการบริหารความเสี่ยงจะช่วยให้สามารถเลือกวิธีการออม และลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองได้ จึงควรศึกษาเรื่องการกระจายความเสี่ยง และผลตอบแทนของสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ
 

6 ขั้นตอนวางแผนเกษียณอายุเพื่อความอุ่นใจ

 

6 ขั้นตอนวางแผนเกษียณอายุเพื่อความอุ่นใจ

การวางแผนเกษียณอายุของพนักงานบริษัท เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างรอบคอบและต่อเนื่อง เพราะเป็นการต่อสู้กับระยะเวลาในการรอให้ผลลัพธ์ออกดอกออกผล และสำหรับใครที่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี เรามี 5 ขั้นตอนในการวางแผนเกษียณอายุมาฝากกัน

 

1. กำหนดช่วงเวลาที่ต้องการเกษียณ

การกำหนดช่วงอายุที่ต้องการเกษียณ มีความสำคัญอย่างมากสำหรับพนักงานบริษัท เพราะจะทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น แต่ควรพิจารณาจากปัจจัยอื่น ๆ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เช่น สุขภาพ การเงิน เป้าหมายในการทำงาน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

2. ประเมินระยะเวลาหลังเกษียณแบบคร่าว ๆ

การประมาณการคร่าว ๆ ถึงระยะเวลาหลังเกษียณ ก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน โดยควรคำนึงถึงอายุขัยเฉลี่ย และประวัติสุขภาพของครอบครัวด้วย ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยให้เรารู้ว่าจำเป็นต้องเตรียมเงินเผื่ออีกกี่ปีกับช่วงชีวิตในวัยเกษียณ

 

3. คำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอายุของพนักงานบริษัท เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ต้องคำนวณให้ดี โดยเริ่มต้นได้ง่าย ๆ จากการคำนวณรายจ่ายที่ใช้อยู่ต่อเดือนในปัจจุบัน และอาจจะบวกเพิ่มอีกสักหน่อยจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทุกปี รวมไปถึงเงินสำรองสำหรับค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย หรือกิจกรรมที่อยากทำเข้าไปด้วย เพราะจะได้มีความสุขกับช่วงเกษียณโดยไม่เบื่อหน่าย

ตัวอย่างเช่น

หากเราต้องเป้าจะเกษียณอายุที่วัย 60 ปี และคิดว่าจะอยู่ถึง 75 ปี โดยมีไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 30,000 บาท จะต้องใช้สูตรคำนวณเบื้องต้น ดังนี้

(30,000x12)x15 = 5,400,000 บาท จะเป็นจำนวนเงินที่ต้องมีหลังเกษียณ

 

4. ตั้งเป้าเก็บออมและใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น

เมื่อทราบจำนวนเงินที่ต้องการสำหรับการเกษียณแล้ว ควรตั้งเป้าหมายการออมที่ชัดเจน เช่น เก็บออมจากเงินรายได้ส่วนหนึ่งไว้สำหรับการเกษียณอายุโดยเฉพาะ และพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายเท่าที่ทำได้ เพราะการสร้างวินัยในการออม และการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการเกษียณได้เร็วขึ้น

 

5. ลงทุนเพื่อเงินปันผลในอนาคต

เพราะการนำเงินเก็บมาใช้จ่ายอย่างเดียว อาจมีความเสี่ยงมากเกินไปในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำลงเรื่อย ๆ ตามแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก การศึกษาหาความรู้ และเริ่มต้นลงทุนอย่างจริงจังในหุ้น กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ หรือพันธบัตรรัฐบาล มีความสำคัญอย่างมากในแผนเกษียณของพนักงานบริษัท เพื่อให้มีรายได้ไว้ใช้จ่ายได้อย่างอุ่นใจ

 

6. ทำประกันเพื่อสร้างความมั่นคง

การทำประกันเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางการเงินสำหรับวัยเกษียณได้ดี โดยเฉพาะประกันบำนาญ และประกันสะสมทรัพย์ ซึ่งช่วยสร้างวินัยในการออม และให้ผลตอบแทนที่แน่นอนด้วย หากไม่รู้จะเลือกทำประกันไหนประเภทไหนดี ตัวอย่างประกันที่ควรทำ ได้แก่

 

1. ประกันบำนาญ 85/60 : แผนประกันนี้เหมาะสำหรับคนที่อยากได้ความอุ่นใจหลังเกษียณ ด้วยการจ่ายเงินบำนาญอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 60 - 85 ปี เมื่อส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนไข

  • เก็บออมทีละน้อยเพื่อรับเงินบำนาญในช่วงเกษียณ
  • รับเงินบำนาญต่อเนื่องสูงสุด 26 งวด ตั้งแต่อายุ 60 ปี
  • รับเงินบำนาญรวมตลอดสัญญาสูงสุด 312%
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร
 

2. ประกันสะสมทรัพย์ ดี-มินิ เซฟวิ่ง 10/6 : แผนประกันหนี้เหมาะกับวัยทำงานที่อยากเริ่มต้นออมเงิน เพราะมีเงินส่งสมทบที่ไม่สูง และได้เงินคืนทุกปี จึงช่วยในการเก็บออมเงินในระยะยาวที่คุ้มค่า

  • รับเงินจ่ายคืน 3.5% ทุกปี ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1 - 10
  • รับเงินจ่ายคืนเมื่อครบสัญญาสูงถึง 600%
  • รวมรับเงินจ่ายคืนตลอดสัญญา 635%
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร
 

สรุป การวางแผนเกษียณอายุในพนักงานบริษัท

เพราะแผนเกษียณอายุ ช่วยให้พนักงานบริษัทมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น หากเตรียมพร้อมด้วยความรอบคอบอย่างการเปรียบเทียบประกันบำนาญ และหากเริ่มวางแผนตั้งแต่อายุน้อย ๆ ก็มีโอกาสเข้าสู่อิสรภาพทางการเงินได้ง่ายขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการทำประกัน ที่มีข้อดีมากมายในการลดหย่อนภาษี และยังช่วยสร้างวินัยในการเก็บออมได้มากขึ้น ซึ่งทาง SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มีผลิตภัณฑ์ประกันหลากหลายรูปแบบให้คุณเลือกตามเป้าหมายทางการเงิน ทั้งประกันชีวิต, ประกันเกษียณ, ประกันสุขภาพ , และประกันสะสมทรัพย์ สามารถขอคำปรึกษาหรือเลือกซื้อประกันออนไลน์ได้ตามความสะดวก ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต, LINE Official @THAIGROUP และ Call Center 0 2255 5656

 

หมายเหตุ: เป็นการออมในรูปแบบประกันชีวิต ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ประกันที่เกี่ยวข้อง